Hydro Products Excellent

AFM (Activated Filter Media) สารกรองแก้ว

AFM ( Activated Filter Media )
          เป็นสารกรองน้ำที่ทำมาจากแก้ว ถูกพัฒนาขึ้นมาแทนสารกรองที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันซึ่งมีประสิทธิภาพในการกรองมากกว่าทรายกรองถึง 40 เท่า สามารถดูดจับสารประจุบวกตลอดจนสารอินทรีย์ในน้ำได้เป็นอย่างดี และยังทำหน้าที่เป็นตัวออกซิไดซ์ในตัวเองทำให้สารกรองสะอาดอยู่เสมอ จึงหมดปัญหาเรื่องของไบโอฟิล์ม ( Biofilm )

คุณสมบัติเด่นของ AFM มีอะไรบ้าง
 – กรองความขุ่นและสารแขวนลอยที่มีขนาด 5 ไมครอนขึ้นไปได้มากกว่า 96%
 – สามารถกรองแบคทีเรีย พยาธิ แพลงก์ตอน จุลินทรีย์ รวมไปถึงสารอินทรีย์ต่างๆในน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 – เป็นสารกรองน้ำที่ได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆเช่น WQA, NSF50, NSF61, HACCP, UK และ DWI 
 – สามารถจับโลหะหนักชนิดต่างๆในน้ำรวมไปถึงสารเคมีพวกยากำจัดวัชพืชได้
 – ผิวของสารกรองเรียบ ลื่น มีประจุลบสูง ช่วยลดการเกิดไบโอฟิล์มได้
 – ใช้เพียงน้ำเปล่าในการ Backwash และใช้เวลาน้อยกว่าสารกรองชนิดอื่น
 – อายุการใช้งานนานถึง 15 ปี โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสารกรองใหม่

อะไรทำให้ AFM มีประสิทธิภาพมาก
 – เราใช้แก้ววัสดุสีเขียวและสีน้ำตาลเนื่องจากมีคุณสมบัติทางเคมีและเป็นโครงสร้างที่ถูกต้องเหมาะสำหรับกระบวนการกรอง
 – กระบวนการกระตุ้น AFM ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวที่มีการดูดซับได้ถึง 300 เท่าต่อ 1,000,000 M²/M³ ซึ่งหมายความว่าพื้นที่ผิวมากกว่า 300 เท่าสำหรับการดูดซับสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำได้
 – ผิวขนาดใหญ่ควบคุมไปกับประจุที่เป็นลบ ทำให้ AFM เป็นสารกรองที่ดีที่สุดสำหรับกรองบำบัดน้ำดื่ม เพราะทำให้น้ำที่ได้หลังจากการกรองเป็นน้ำที่บริสุทธิ์
 – ประสิทธิภาพของ AFM ได้รับการพิสูจน์โดย IFTS ห้องปฎิบัติการอิสระในประเทศฝรั่งเศสว่ามีไอออไนซ์ ( ionizing radiation ) คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประจุบวกและลบที่มีพลังงานสูง

คำถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ AFM ( Activated Filter Media )

คำถาม : สารกรองแก้ว AFM กรองอะไรได้บ้าง ?
คำตอบ : สามารถกรองโลหะหนักได้เช่น เหล็ก แมงกานีส โครเมียม ฟอสเฟส สารหนู และตะกอนในน้ำทุกชนิด
คำถาม : สารกรองแก้ว AFM กรองน้ำบาดาลหรือน้ำประปา ?
คำตอบ : กรองได้ทั้งน้ำบาดาลและน้ำประปา
คำถาม : กรองผ่าน AFM แล้วดื่มได้เลยไหม ?
คำตอบ : น้ำที่ผ่านการกรองด้วย AFM จะต้องผ่านคาร์บอน เรซิ่นและฆ่าเชื้อด้วยระบบ RO. หรือ UF ก่อนถึงจะดื่มได้ เพราะ AFM นั้นกรองเพียงแค่ตะกอนที่มากับน้ำเท่านั้น
คำถาม : ในการกรองน้ำดิบ (น้ำที่ไม่ผ่านการปรับสภาพน้ำ) สามารถกรองได้หรือไม่ ?
คำตอบ : สามารถกรองได้
คำถาม : ต้องผ่านถังพักน้ำก่อนหรือสามารถดูดน้ำมากรองได้เลย ?
คำตอบ : ได้ทั้ง 2 แบบ แต่แนะนำให้ดูดน้ำลงบ่อพักน้ำหรือถังพักน้ำเพื่อตกตะกอนขั้นตอนแรก เพราะน้ำที่ถูกดูดมานั้นจะมีตะกอนฟุ้งปนมากับน้ำ จากนั้นค่อยดูดน้ำมากรองในถังกรอง AFM อีกรอบ
คำถาม : สารกรองแก้ว AFM มีขนาดบรรจุเท่าไหร่ ?
คำตอบ : 1 ถุงบรรจุ 20ลิตร (25 กิโลกรัม)
คำถาม : ใช้ปริมาณเท่าทรายไหม น้ำหนักของ AFM หนักกว่าทรายหรือเปล่า?
คำตอบ : ใช้ปริมาณน้อยกว่าทราย 15% และน้ำหนักเบากว่าทราย ดังนั้นเมื่อ Backwash จึงใช้แรงดันน้ำและปริมาณน้ำน้อยกว่า
คำถาม : สารกรองแก้ว AFM ใช้แทนอะไรได้บ้าง ?
คำตอบ : สามารถใช้สารกรองแก้ว AFM แทนทราย แมงกานีส แอนทราไซต์ได้เลย
คำถาม : สารกรองแก้ว AFM มีกี่ขนาด ?
คำตอบ : สารกรองแก้ว AFM มี  3 ขนาด คือ เบอร์ 1, เบอร์2, เบอร์3 โดยที่เบอร์1 ทำหน้าที่หลักๆในการกรองและเบอร์2 ทำหน้าที่การกรองและรอง และเบอร์3 ทำหน้าที่การรองไม่ให้เบอร์ 1 และเบอร์ 2 หลุดสแตนเนอร์ล่างแล้วก็ทำหน้าที่กรองหยาบเหมือนกัน
คำถาม : สารกรองแก้ว AFM สามารถใส่รวมในถังคาร์บอน หรือเรซิ่น ได้ไหม ?
คำตอบ : แนะนำให้ลูกค้าแยกถังกรองเพื่อประสิทธิภาพในการกรองของสารกรองแก้วที่จะมีอายุการใช้งานนานครบ 15 ปี
คำถาม : ต้องใช้เคมีในการทำความสะอาดไหม ?
คำตอบ : ไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆ ในการล้างสารกรอง เพียงทำการ Backwash ปกติด้วยน้ำเปล่า เท่านี้สารก็กลับมาทำงานเต็มประสิทธิภาพเหมือนเดิม
คำถาม : การนำสารกรองแก้ว AFM เบอร์ 0-3 มาผสมรวมกันในการกรองได้หรือไม่ ?
คำตอบ : สามารถใส่รวมกันได้ เมื่อหลังจากการทำ Backwash แล้วเม็ดสารกรองแก้ว Backwash แล้วเม็ดสารกรอง AFM จะเรียงตัวกันหล่นลงเรียงจากเม็ดสารกรองแก้วเบอร์ 3 จากนั้นก็เบอร์ 2 แล้วก็เบอร์1 และเบอร์0 ตามลำดับ เนื่องจากมีน้ำหนักที่แตกต่างกันจึงไม่ต้องกังวลเรื่องการเรียงสารที่สลับปนกัน
คำถาม : หลังการทำ Backwash สารกรองจะมาปนกันใช่หรือไม่ หากปนกันประสิทธิภาพในการกรองจะเหมือนเดิมหรือไม่ หากปนกันสารกรองแก้ว จะจับตัวกันเป็นก้อน(ผลึก)หรือไม่ หากจับตัวเป็นลึกต้องใช้แรงดันปั๊มมากกว่าเดิมหรือไม่ ?
คำตอบ : หลังจากทำ Backwash แล้วสารกรองแก้ว จะไม่จับตัวกันเป็นก้อน เพราะมีพื้นผิวเรียบจึงไม่ก่อให้เกิดแบคทีเรียรอบๆผิว และจะเรียงตัวกันและสารกรองแก้วที่มีขนาดใหญ่จะหล่นลงมาสู่พื้นก่อนอันดับแรก จากนั้นตามด้วยที่มีขนาดเล็กกว่าตามลำดับขนาด
คำถาม : สารกรองแก้วสามารถย่นระยะเวลากรองได้ดีกว่าใช้ทรายหรือไม่ ?
คำตอบ : สารกรองแก้วใช้ระยะเวลาในการกรองไม่ต่างจากทรายทั่วไป
คำถาม : สารกรองแก้วมีผลต่อค่าของน้ำหรือไม่ ?
คำตอบ : สารกรองแก้ว มีหน้าที่กรองตะกอนเท่านั้น จึงไม่ไปทำปฎิกิริยาใดๆ กับค่าของน้ำในส่วนการกรองของเครื่องกรองน้ำดื่ม
คำถาม : หากกรองน้ำดิบ สารกรองแก้ว จะเกิดหินปูนเกาะหรือไม่ เพราะถ้าหินปูนมาเกาะ จำเป็นต้องเปลี่ยนทรายทั้งหมดหรือไม่ ?
คำตอบ : สารกรองแก้ว ได้ผ่านการผลักสารไอออไนซ์ ( ionizing radiation คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประจุบวกและลบที่มีพลังงานสูง ) ทำให้ทรายมีประจุบวกและลบในตัวของผิวสารกรองแก้ว สามารถผลักโมเลกุลที่เข้ามาและออกไปเพื่อเปลี่ยนโมเลกุล ทำให้เกิดความสมดุลโมเลกุล เพราะเหตุนี้หินปูนไม่สามารถเกาะติดกันกับทรายแก้วให้เป็นก้อนหินปูนได้

AFM ( Activated Filter Media ) ใช้แก้ปัญหาน้ำในด้านใดบ้าง

  • น้ำบาดาล  แก้ไขในส่วนของความขุ่น สารแขวนลอยขนาดเล็ก สนิมเหล็ก สนิมแมงกานีส
  • ประปาหมู่บ้านหรือเพื่อใช้ในครัวเรือน  ลดความขุ่น กำจัดแบคทีเรีย สารแขวนลอยขนาดเล็ก
  • น้ำจากแหล่งน้ำผิวดิน  ลดความขุ่น สารแขวนลอยขนาดเล็ก เชื้อโรคต่างๆ
  • โรงงานอุตสาหกรรม  กำจัดโลหะหนักที่ปนเปื้อนจากการกระบวนการผลิต บำบัดน้ำก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติหรือเพื่อนำกลับมาวนใช้ในกระบวนการผลิตอีกครั้ง
  • สระว่ายน้ำ  กรองความขุ่น กำจัดเชื้อโรค ลดการใช้คลอรีน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น